คณะทูต 65 ประเทศ เข้าเยี่ยมชมพระเมรุมาศ-ราชรถ ในหลวง ร.9

https://hilight.kapook.com/

 งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.9

         คณะทูต 65 ประเทศ เข้าชมพระเมรุมาศ-ราชรถ ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.9 ด้าน วธ. หวังนำเสนอประเพณีโบราณ

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานต้อนรับคณะทูตานุทูตจาก 65 ประเทศ เยี่ยมชมการจัดสร้างพระเมรุมาศ และราชรถและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมี ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัด วธ. และนางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม เป็นวิทยากรบรรยาย

งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.9

นายวีระ กล่าวว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ วธ. ดำเนินการเกี่ยวกับพระราชพิธีพระบรมศพในส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ได้แก่ การสร้างพระเมรุมาศ การบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ พระยานมาส และจัดทำเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุดแด่พระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ เพื่อสืบทอดโบราณราชประเพณีที่สำคัญ วธ.ได้เชิญทูตานุทูตจาก 65 ประเทศ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บาห์เรน, บังกลาเทศ, เบลเยียม, ภูฏาน, บราซิล, บรูไน, กัมพูชา, แคนาดา, ชิลี, จีน, คิวบา, เช็ก, เดนมาร์ก, อียิปต์,  ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, อัครสมณทูตวาติกัน, ฮังการี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิตาลี, ญี่ปุ่น, คาซัคสถาน, เคนยา, เกาหลีใต้, คูเวต, ลิเบีย, มาเลเซีย, มอลตา,  เม็กซิโก, มองโกเลีย, โมร็อคโค, เมียนมา, เนปาล, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ไนจีเรีย, นอร์เวย์, โอมาน, ปากีสถาน, ปานามา, เปรู, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, กาตาร์, รัสเซีย, สิงคโปร์, สโลวาเกีย, แอฟริกาใต้, สเปน, ศรีลังกา, สวิตเซอร์แลนด์, สวีเดน, ติมอร์ เลสเต, ตุรกี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และอุซเบกิสถาน รวมกว่า 170 คน เข้าร่วมในครั้งนี้

งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.9

งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.9

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เผยอีกว่า ทาง วธ. มองว่า คณะทูตานุทูตถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะสื่อสารเรื่องราวกลับไปยังประเทศของตน ดังนั้นจึงได้มีการจัดการบรรยายความรู้โบราณราชประเพณี ซึ่งได้ปูพื้นให้เห็นว่าเป็นประเพณีที่มีตั้งแต่สมัยอยุธยา เพื่อเป็นการสื่อสารให้สาธารณชนและทูตานุทูตได้รับทราบว่า การที่ไทยรักษาพระราชประเพณีดังกล่าวไว้และสืบทอดถึงปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

ภาพและข้อมูลจาก ไทยพีบีเอส