โฆษกศาล แจงปมศาลฎีกา ตัดสินจำคุก ตายายเก็บเห็ดคนละ 5 ปี

https://hilight.kapook.com/

โฆษกศาล แจงปมศาลฎีกา ตัดสินจำคุก ตายายเก็บเห็นคนละ 5 ปี

       สืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม  แจงฎีกา ปม ตายายเก็บเห็ด ถูกศาลตัดสินจำคุกคนละ 5 ปี ชี้จำคุกฐานร่วมกันครอบครองและทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

  วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีที่อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายอุดม ศิริสอน อายุ 48 ปี และนางแดง ศิริสอน อายุ 48 ปี (ขณะเกิดเหตุ) เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553

  โดย นายสืบพงษ์ กล่าวว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ 3 และ ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จึงใช้กฎหมายเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง

โฆษกศาล แจงปมศาลฎีกา ตัดสินจำคุก ตายายเก็บเห็นคนละ 5 ปี

  ทั้งนี้ นายสืบพงษ์ ได้ตอบข้อสังเกตของผู้สื่อข่าวกรณีที่ กระแสสังคมมองว่า คดีนี้ศาลลงโทษคนชราที่ทำผิดเล็กน้อย และต้องเข้าคุกทำให้เกิดความสะเทือนใจ จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่นั้น นายสืบพงษ์ ระบุว่า คดีนี้จำเลยทั้งสองอายุ 48 ปี ไม่ใช่คนชรา และชั้นสอบสวนผู้ต้องหาก็ได้รับการแจ้งสิทธิ์ว่าต้องการและพบทนายความหรือไม่ เมื่อถูกฟ้องศาลจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจต่อหน้าศาล ซึ่งกฎหมาย ป.วิอาญามาตรา 173 ระบุว่าในคดีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไม่เกิน 5 ปี ศาลลงโทษได้โดยไม่ต้องสืบพยานประกอบ และกฎหมายให้ถามว่ามีทนายความหรือไม่ถ้าไม่มีและต้องการศาลจะจัดให้ตาม มาตรา176 แต่จำเลยทั้งสองไม่ต้องการ ศาลจึงไม่มีข้อเท็จจริงจากฝ่ายจำเลย จึงพิพากษาไปตามฟ้องที่จำเลยให้การ “รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา”

  นายสืบพงษ์ กล่าวอีกว่า เมื่อทั้งสองยื่นฎีกาเข้ามา ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลจึงรับฟังไม่ได้ ตนขอให้สังคมตระหนักว่า เมื่อถูกจับเป็นผู้ต้องหาควรรู้สิทธิ์เบื้องต้นหรือถามญาติหรือใครก็ได้ เพื่อให้พาไปพบกรมคุ้มครองสิทธิ หรือพบทนายความประจำโรงพักทั่วประเทศ หรือปรึกษาพบทนายจากสภาทนายความ ในเบื้องต้น หรือไปที่ศาลพบเจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิ

โฆษกศาล แจงปมศาลฎีกา ตัดสินจำคุก ตายายเก็บเห็นคนละ 5 ปี

ส่วนเรื่องที่ทนายจำเลยบอกว่า จะรื้อฟื้นคดีนั้น เห็นว่าคดีนี้ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วหากมีพยานหลักฐานชิ้นใหม่ก็สามารถไปร้องรื้อฟื้นคดีตามสิทธิ์ก็ได้ ส่วนเรื่องพักโทษ หากได้รับโทษมาแล้วหนึ่งในสาม และเป็นผู้ชราก็ขอพักโทษได้ ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของกระทรวงยุติธรรม

ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Workpoint News – ข่าวเวิร์คพอยท์