ครั้งแรกของโลกสัตวแพทย์จุฬาผ่าตัดท้องเต่าตะนุตะลึงพบเหรียญนานาชาตินับพันอัดแน่นกระเพาะ(ชมภาพชุด)

http://www.matichon.co.th/news/

เหรียญเต่า

 

วันที่ 6 มีนาคม ศ.นสพ.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณะบดีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมคณะสัตวแพทย์ ที่ทำการรักษาและผ่าตัด เต่าออมสิน หรือเต่าตนุ ที่กลืนเหรียญเข้าไปจำนวนมาก จนเกิดอาการป่วยหนัก กระทั่ง ทีมสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ช่วยกันผ่าตัดเอาเหรียญออกมา จนประสบผลสำเร็จ แถลงข่าวหลังจากการผ่าตัด

ศ.นสพ.รุ่งโรจน์ กล่าวว่า เต่าตนุเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เป็นสัตว์ที่กินพืช จำพวก หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล เป็นหลัก รวมทั้งแมงกะพรุน และลูกปลาตัวเล็กๆ มีอายุยืนถึง 80 ปี แต่ด้วยความเชื่อของคนว่า หากได้โยนเหรียญไปโดนเต่าแล้ว จะมีอายุยืนยาว บ้างก็ต้องการทำบุญเป็นทานให้กับสัตว์ ทำให้เต่าจำนวนมากต้องอาศัยในบ่อ รวมกับเหรียญและธนบัตรเกือบตลอดชีวิต บ้างก็ตายก่อนสิ้นอายุขัย ดังนั้นหากต้องการจะทำบุญให้กับสัตว์ ควรนำเหรียญ หรือธนบัตรไปหยอดในตู้ที่ตัดไว้ การโยนเหรียญลงไปให้กระทบกับเต่าเหมือนเป็นการทำบาปมากกว่าทำบุญ เพราะทำให้สัตว์เกิดความทรมาน การผ่าตัดเพื่อนำเหรียญออกจากท้องเต่าตะนุครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของโลก ที่ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือรักษา โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคของประชาชน

รศ.สพญ.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เต่าออมสิน เป็นเต่าตัวเมีย อายุประมาณ 25 ปี รับตัวมาจาก ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือสัตหีบ ที่ได้รับมาจากบ่อเต่า อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีอีกที

“เมื่อเต่ามาถึง มีอาการเบื้องต้น คือ ซึม ไม่ค่อยว่ายน้ำ จะเคลื่อนตัวเมื่อถูกกระตุ้น หรือเพื่อกินอาหารเท่านั้น ลำตัวส่วนหน้าลอย ส่วนหลังจมเป็นมุมเอียงซ้าย ตรวจพบบริเวณหน้าท้องมีการกร่อนหายไปของกระดูกจนมีลักษณะนิ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร จึงประชุมทีมสัตวแพทย์ นำโดย ผศ.นสพ.ภาสกร พฤกษะวัน ผศ.นสพ.สุวิชา จุฑาเทพ สพญ.ฐนิตา เหตระกูล นสพ.นรภัทร โตวณะบุตร นสพ.ปฏินันท์ รุกขชาติ และนสพ.กิริน สรพิพัฒน์เจริญ หลังการวินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ โดยสพญ.รำไพภัทร เพ็ญโฉม พบว่า ในกระเพาะอาหารของเต่ามีวัตถุลักษณะคล้ายเหรียญกษาปณ์ จนาดประมาณ 20x23x20 เซนติเมตร อัดแน่นอยู่ อีกทั้งในลำไส้ยังพบเบ็ดกับเหรียญอีก 2 เหรียญ จึงมีความเห็นว่าต้องทำการผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา มิฉะนั้น จะเกิดการอุดตัน จนเต่าจะกินอาหารและขับถ่ายออกมาไม่ได้ทรุดโทรมและจะตายในที่สุด”รศ.สพญ.นันทริกา กล่าว

ด้าน ผศ.ภาสกร พฤกษะวัน อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ กล่าวว่า วันนี้ใช้ทีมสัตวแพทย์ศัลยกรรม 5 คน ใช้เวลาในการผ่าตัดเต่าออมสิน ประมาณ 4 ชั่วโมง เริ่มจากการวางยาสลบ จากนั้นได้เปิดกระดองส่วนท้องยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ผ่าตัดเปิดกระเพาะอาหารส่วนที่พบของแปลกปลอมอยู่ และดึงเหรียญที่อัดแน่นอยู่กว่า 1,000 เหรียญออกมา เหรียญที่เอาออกมานั้นมาจากหลายชาติหลายประเทศ บางเหรียญถูกหลอมติดกันภายในกระเพาะอาหารนั่นเอง ซึ่งระหว่างการผ่าตัด ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารฉีกขาดอย่างมาก น้ำหนักเหรียญที่เอาออกมานั้นชั่งได้รวม 5 กิโลกรัมด้วยกัน หลังผ่าตัดจะงดให้อาหารเต่า 1-2 สัปดาห์ แต่จะให้น้ำเกลือแทน โดยขณะนี้เต่าออมสินปลอดภัย อยู่ในห้องพักฟื้น ซึ่งคณะสัตวแพทย์จะให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

17140966_10212862533026300_9467924_n

17124647_10212862532706292_508776211_n

17141654_10212862532466286_248192110_n

17160261_10212862532266281_625135040_n

17198407_10212862532146278_1294063562_n

17197756_10212862532946298_2033503837_n

เต่าออมสิน

17160969_10212862450304232_1122883204_n

17125185_10212862449944223_767435421_n